กุยช่าย

กุยช่าย (Chinese Chive) อยู่วงค์เดียวกับหอมกระเทียม มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีเหง้าเล็กและแตกกอ ลำต้นจะถูกห่อหุ้ม ไปด้วยกาบใบโดยรอบๆสีเขียว ใบคล้ายใบกระเทียม
กุยช่าย (Chinese Chive) อยู่วงค์เดียวกับหอมกระเทียม มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีเหง้าเล็กและแตกกอ ลำต้นจะถูกห่อหุ้ม ไปด้วยกาบใบโดยรอบๆสีเขียว ใบคล้ายใบกระเทียม

กุยช่าย

►กุยช่าย (Chinese Chive) เป็นพืชล้มลุก อยู่วงค์เดียวกับหอมกระเทียม มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีเหง้าเล็กและแตกกอ มีลักษณะกลมๆ ลำต้นจะถูกห่อหุ้มด้วยกาบใบโดยรอบๆ มีสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีลักษณะคล้ายใบกระเทียม ใบแบนยาวมีขอบขนาน โคนใบเป็นกาบออกหุ้มสลับซ้อนกันอยู่ ตรงโคนลำต้น มีสีเขียว มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นฉุนแรง ดอกออกเป็นช่อ มีลักษณะแบบซี่ร่ม มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออก เป็นที่นิยมปลูกกันทั่วไป ในหลายประเทศทั่วโลก เป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีมาแต่โบราณ มีประโยชน์และสรรพคุณ ทางยาหลายอย่าง กุยช่ายจะมีกลิ่นแรง มีกลิ่นฉุนจัดเฉพาะตัว ใช้ลำต้น ใบ และดอก นำมาประกอบอาหาร เมนูต่างๆได้หลายเมนู

กุยช่าย

พืชผักสมุนไพร
กุยช่าย : Chinese Chive

กุยช่าย : Garlic chives,Oriental garlic,Chinese leek
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium tuberosum Rottler ex Spreng
อยู่ในวงค์ : Amaryllidaceae

กุยช่าย (Kui-Chai) เป็นพืชล้มลุก อยู่วงค์เดียวกับหอมกระเทียม มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีเหง้าเล็กและแตกกอ มีลักษณะกลมๆ ลำต้นจะถูกห่อหุ้ม ไปด้วยกาบใบโดยรอบๆ มีสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีลักษณะคล้ายใบกระเทียม ใบแบนยาวมีขอบขนาน โคนใบเป็นกาบออกหุ้มสลับซ้อนกันอยู่ ตรงโคนลำต้น มีสีเขียว มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นฉุนแรง ดอก ออกเป็นช่อ มีลักษณะแบบซี่ร่ม ทรงกลมแล้วจะบานออก มีดอกย่อยเล็กๆอยู่บนก้าน ก้านดอกยาวกลมตันเป็นก้านโดด กลีบดอกมีสีขาว มีกลิ่นหอม ก้านมีสีเขียว ในกุยช่ายจะมีกลิ่นแรง มีกลิ่นฉุนจัดเฉพาะตัว ใช้ลำต้น ใบ และดอก นำมาประกอบอาหาร เมนูต่างๆได้หลายเมนู ประเทศไทยมีปลูกหลายสายพันธุ์ โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กุยช่ายเขียว และกุยช่ายขาว มีใบใหญ่เกิดจากการบังแสงร่มเงา

ต้นกุยช่าย

ลำต้น เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีเหง้าเล็กและแตกกอ มีลักษณะกลมๆ ลำต้นจะถูกห่อหุ้ม ไปด้วยกาบใบโดยรอบๆ มีสีเขียว

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีลักษณะคล้ายใบกระเทียม ใบแบนยาวมีขอบขนาน โคนใบเป็นกาบออกหุ้มสลับซ้อนกันอยู่ ตรงโคนลำต้น มีสีเขียว มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นฉุนแรง

ดอก ออกเป็นช่อ มีลักษณะแบบซี่ร่ม ทรงกลมแล้วจะบานออก มีดอกย่อยเล็กๆอยู่บนก้าน ก้านดอกยาวกลมตันเป็นก้านโดด กลีบดอกมีสีขาว มีกลิ่นหอม ก้านมีสีเขียว

ผล มีลักษณะกลมๆ ผลแก่จะแตกออก มี 1-2 เมล็ด อยู่ข้างในผล

เมล็ด อยู่ข้างในผล มีลักษณะกลมแบน ผิวขรุขระ มีสีน้ำตาล

ดอกกุยช่าย

ประโยชน์และสรรพคุณกุยช่าย

มีฟอสฟอรัส มีเบตาแคโรทีน มีวิตามินเอ มีวิตามินซี มีคาร์โบไฮเดรต มีพลังงาน มีเส้นใย มีไขมัน มีเหล็ก มีแคลเซียม

ช่วยบำรุงน้ำนม ช่วยรักษาหนองใน ช่วยบำรุงเพศ ช่วยบำรุงไต ช่วยรักษาลมพิษ ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรควัณโรค แก้หวัด ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก ช่วยรักษาเลือดกำเดาไหล แก้อาเจียน แก้ท้องเสีย แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร แก้นิ่ว ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยฆ่าเชื้อ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาแผลหนอง ช่วยรักษาฟกช้ำดำเขียว แก้ปวด แก้แผลอักเสบ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยลดอาการลำไส้อักเสบ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้

การปลูกและขยายพันธุ์กุยช่าย

กุยช่ายเจริญได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทรายจะเจริญได้ดี และแยกเหง้าปลูก
การปลูกโดยใช้เมล็ด จะนิยมมากกว่า จะหว่านเมล็ดลงในแปลงดินที่เตรียมไว้ แล้วรดน้ำให้เพียงพอ

วิธีดูแลรักษากุยช่าย

กุยช่ายเป็นพืชที่ชอบน้ำ ให้ระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง ชอบแสงแดด ต้องดูแลรดน้ำเสมอ ต้องหมั่นรดน้ำให้ชุ่ม โดยรดน้ำเช้าเย็น ให้โดนแดดตลอดวัน จะทำให้กุยช่ายโตได้เร็ว ถ้าต้องการกุยช่ายขาว ให้นำภาชนะมาคลุม พลางแสงไว้ ไม่ให้โดนแสงแดด

ใบกุยช่าย

การเก็บเกี่ยวผลผลิตกุยช่าย

การปลูกด้วยเมล็ด จะเก็บเกี่ยวใช้เวลา ประมาณ 7-8 เดือน หลังปลูกลงแปลง ก็จะเก็บผลผลิตได้
การปลูกโดยใช้เหง้า จะเก็บเกี่ยวได้ใช้เวลา ประมาณ 4 เดือน หลังปลูกลงแปลง ก็จะเก็บผลผลิตได้
โดยจะตัดใบ หรือถอนทั้งต้นออกมา แล้วล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำใส่ในภาชนะที่มิดชิด อย่าให้โดนแสงแดดจะ ทำให้เหี่ยวได้

การเก็บรักษากุยช่าย

นำกุยช่ายที่ตัดไว้ นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วสะเด็ดน้ำออกให้หมด แล้วใส่ในกล่องหรือภาชนะ แล้วนำไปแช่ตู้เย็น จะสามารถเก็บไว้ได้นาน

Be the first to comment

Leave a Reply