ตำลึง

ตำลึง (Ivy Gourd) เป็นพืชผักสมุนไพร เป็นไม้เลื้อยที่มีมือจับ ใช้สำหรับเลื้อยเกาะต้นไม้ใหญ่
ตำลึง (Ivy Gourd) เป็นพืชผักสมุนไพร เป็นไม้เลื้อยที่มีมือจับ ใช้สำหรับเลื้อยเกาะต้นไม้ใหญ่

ตำลึง

►ตำลึง (Ivy Gourd) เป็นพืชผักสมุนไพร เป็นไม้เลื้อยที่มีมือจับ ใช้เลื้อยเกาะไม้หลักหรือต้นไม้ใหญ่ มีสีเขียวจัด ตำลึงเป็นไม้เถา เป็นพืชยื่นต้น ใบและยอดตำลึง มีสีเขียวใช้รับประทาน มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพืชปลูกในเอเชียเขตร้อน และได้นิยมมีการปลูกกันในหลายประเทศทั่วไป เป็นพืชประจำถิ่นของไทย ในแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกต่างกัน ตำลึงเป็นพืชผักสมุนไพร มีประโยชน์และสรรพคุณทางยา ใช้นำมารักษาโรคต่างๆ ได้หลายอย่าง และสามารถนำมาประกอบ ปรุงอาหารเมนูต่างๆ ได้มากมายหลากหลายเมนู ตำลึงเป็นผักที่จะใช้ใบและยอดอ่อนรับประทาน จะรับประทานเมื่อยังอ่อนๆ ตำลึงเป็นผักหวานกรอบ ไม่เหม็นเขียว จะมีกลิ่นเฉพาะตัว ที่หลายคนชื่นชอบ

ตำลึง

พืชผักสมุนไพร
ตำลึง : Ivy Gourd

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt
ในวงศ์ : Cucurbitaceae

ตำลึง เป็นพืชผักสมุนไพร เป็นไม้เลื้อยที่มีมือเกาะจับ ใช้เลื้อยเกาะไม้หลักหรือต้นไม้ใหญ่ ตระกูลเดียวกับบวบ น้ำเต้า และแตงร้าน มีสีเขียวจัด ตำลึงเป็นไม้เถายื่นต้น มีลำต้นเดี่ยว ลำต้นมีลักษณะกลมๆ เจริญเติบโตได้ง่ายและได้ดี ไม่ต้องดูแลรักษามาก ใช้ใบและยอดอ่อนรับประทาน ตำลึงมี 2 ชนิด ตำลึงตัวผู้และตำลึงตัวเมีย
-ตำลึงตัวผู้ ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปหัวใจ ใบเว้าลึก มีสีเขียว ก้านใบยาว เป็นดอกเดี่ยว แยกเพศ อยู่ต่างต้น ดอกตำลึงเป็นสีขาว มีแฉก 5 แฉก ตำลึงตัวผู้ออกดอก แต่ไม่มีลูกเหมือนตัวเมีย ตำลึงตัวผู้ถ้าคนที่ธาตุอ่อนกินเข้าไป อาจจะทำให้ท้องเสียได้ ไม่นิยมรับประทาน
-ตำลึงตัวเมีย ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ ใบจะใหญ่สมบูรณ์ ไม่เว้าลึก มีสีเขียว ก้านใบยาว มีดอกสีขาว มีลูกอ่อนสีเขียวลายขาวคล้ายแตงกว่า ปลูกง่ายไม่ต้องดูแลรักษามาก จะนิยมรับประทาน

ลำต้น เป็นเถาเลื้อย ลำต้นมีลักษณะกลม ต้นอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีนํ้าตาลอมเทา หรือสีเทาอมเขียว บริเวณข้อของต้นจะมีมือยึดเกาะ แตกออกข้างลำต้น

ใบตำลึง ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก มีรูปร่าง 5 เหลี่ยม โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ ออกเรียงสลับกันคนละข้างตามกิ่ง มีก้านใบสั้น ผิวใบมันเรียบ แผ่นใบหยักเป็นแฉก ปลายใบเป็นติ่งแหลม ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่มีสีเขียวเข้ม ไม่มีขน ใบตำลึงตัวเมียจะไม่มีแฉกลึก ใช้ใบแก่และใบอ่อนนำมารับประทานได้ ให้รสกรอบ และนุ่มกว่า จะนิยมรับประทานมากกว่าตำลึงตัวผู้ ส่วนใบตำลึงตัวผู้จะมีแฉกเว้าลึกกว่า

รากตำลึง เป็นระบบรากแก้ว รากมีลักษณะกลมเล็กๆ มีแตกรากแขนง และรากฝอย รากเจริญ และสามารถแทงลงดินในระดับดินตื้น สามารถแตกรากได้ตามเถา และกิ่งย่อย โดยเฉพาะเถาที่ติดกับดิน จะมีรากแก้วมีสีน้ำตาล มีกลิ่นเฉพาะตัว

มือเกาะ มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายหนวด ขนาดเล็กๆ แตกออกบริเวณข้อของลำต้น มีลักษณะเป็นเส้นคล้ายหนวด สีเขียวอ่อน จำนวนมือเกาะ 1 เส้นต่อข้อ ส่วนปลายมีขนาดเล็กสุดม้วนงอ จะม้วนงอเข้ายึดเกาะรอบข้าง ยึดลำต้นเพื่อเลื้อยแผ่ขึ้นที่สูง ใช้มือเกาะใช้ปลายหนวดม้วนใช้ยึดของ เป็นเกลียวพันรอบคล้ายสปริง จะใช้เวลาไวมาก

ดอกตำลึง ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ เป็นดอกช่อออกตามซอกใบ กลีบดอกจะมีสีขาวถึงขาวนวล ก้านช่อดอกจะสั้น แตกกิ่งช่อดอกตรงปลาย แบ่งเป็นดังนี้
-ดอกเพศผู้ โดยแยกกันอยู่คนละต้น กลีบดอกของดอกมีสีขาว มีโคนกลีบติดกันทำให้ มีลักษณะเป็นกรวยปากแตร ดอกเพศผู้มีเกสร 3 อัน ดอกเพศผู้ออกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว
-ดอกเพศเมีย โดยแยกกันอยู่คนละต้น กลีบดอกของดอกมีสีขาว มีโคนกลีบติดกันทำให้ มีลักษณะเป็นรูประฆัง ดอกเพศเมียมีเกสร 1 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว

ผลตำลึง มีลักษณะผล เป็นทรงยาวรี คล้ายแตงกวา แต่มีขนาดเล็กกว่า เมื่อผลอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อผลแก่จัดจะสีแดง ภายในจะมีหลายเมล็ดผล มีรสชาติขมๆ นกชอบกินผลสุกมาก ช่วยแก้ฝีแดง

เมล็ดตำลึง จะอยู่ภายในผล จะมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะยาวรี แบนรี ผิวเรียบ เมื่อเมล็ดดิบจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อเมล็ดสุกจะเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล

ผลตำลึง

ตำลึงมีประโยชน์และมีสรรพคุณต่างๆ

มีโปรตีน มีใยอาหาร มีเบต้าแคโรทีน มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงและรักษาสายตา มีวิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 มีวิตามินซี ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน มีธาตุแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูก และฟันให้แข็งแรง มีธาตุฟอสฟอรัส มีธาตุเหล็ก มีพลังงาน ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็ง ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดตีบตัน ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแตก ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงผิวหน้า ช่วยสร้างเนื้อเยื่อในร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคจอประสาท ช่วยป้องกันตาเสื่อม ช่วยกำจัดกลิ่นตัว ช่วยกำจัดกลิ่นเต่า ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ช่วยป้องกันการเกิดอัมพาต
-ใบ ใช้แก้ไข้ตัวร้อน ใช้ดับพิษร้อน แก้ไข้ตัวร้อน แก้ตาแดง แก้ตาเจ็บ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง ช่วยบำรุงเลือด ช่วยไหลเวียนของโลหิต ช่วยบำรุงน้ำนมแม่ ช่วยลดอาการท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ช่วยขับสารพิษในลำไส้ ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยลดอาการคัน แก้การอักเสบเนื่องจากพืชมีพิษถูกแก้แมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยดับพิษฝี รักษาแผลอักเสบ บรรเทาปวดแสบปวดร้อน แก้งูสวัด แก้เริม ช่วยป้องกันการเป็นตะคริว แก้อาการแพ้ แก้อาการอักเสบ ช่วยป้องกันโลหิตจาง ช่วยป้องกันหัวใจขาดเลือด ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
-ยาง ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
-เถา แก้ตาแดง แก้ตาฟาง แก้ตาช้ำ แก้ตาแฉะ แก้พิษอักเสบในตา นำน้ำต้มมาหยอดตา ช่วยรักษาโรคเบาหวาน แก้อาการวิงเวียนศีรษะ แก้อาการผิดสำแดง แก้กินของแสลง แก้อักเสบ
-ดอกตำลึง ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยดับพิษต่างๆ
-ราก ใช้แก้อาการอาเจียน แก้อาการตาฝ้า ช่วยลดไข้ ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยระบายท้อง ช่วยดับพิษต่างๆ ใช้รักษาแผลอักเสบ

วิธีการปลูกตำลึง

การปลูกตำลึงในฤดูฝน ต้นตำลึงจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า จะงอกงามเร็วกว่าปลูกในช่วงอื่น จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ ประมาณ 1 เดือนหลังจากปลูก ตำลึงปกติแล้วจะไม่ค่อยมีโรค แมลงศัตรูพืชมารบกวนมาก ตำลึงเป็นพืชสวนครัวที่ปลูกง่าย ขึ้นง่าย ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องดูแลมาก

การปลูกตำลึงมี 2 วิธีคือ วิธีการปลูกด้วยการเพาะเมล็ด และวิธีการปลูกด้วยเถา

1.วิธีการปลูกด้วยเพาะเมล็ดตำลึง เราจะต้องเตรียมเมล็ดพันธุ์ตำลึงที่แก่จัด แล้วเตรียมดินร่วนซุยในการปลูก แล้วเตรียมหลุม โดยปลูกระยะต้นห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างของแถวประมาณ 1 เมตร แล้วจะนำเมล็ดตำลึงประมาณ 2 เมล็ด มาหยอดลงในหลุม ใส่ฝังลงดินกลบจนมิด แล้วรดน้ำวันละครั้ง อย่าให้แฉะจนเกินไป หลังจากที่ต้นกล้างอกแล้ว ให้ทำหลักปักไว้ ให้ต้นตำลึงใช้เลื้อย ควรปลูกในหน้าฝนจะดี ต้นตำลึงจะงอกงามเร็วกว่า

2.วิธีการปลูกด้วยเถา เราจะเอาเถาตำลึงที่แก่ มาตัดออกเป็นท่อนๆ ให้ท่อนยาวประมาณ 5-8 นิ้ว แล้วนำไปปักชำไว้ หรือจะนำไปปลูกลงในหลุมเลยก็ได้ หลังออกรากและใบงอกแล้ว ให้ทำหลักปักไว้ ให้ต้นตำลึงใช้เลื้อย ควรปลูกในหน้าฝนจะดี ต้นตำลึงจะงอกงามเร็วกว่า

ใบตำลึง

วิธีดูแลรักษาตำลึง

ให้รดน้ำทุกวัน แต่ไม่ชอบแฉะ ต้นตำลึงเป็นไม้เลื้อย จะแตกยอดตามกิ่ง ให้ตำลึงปล่อยมันเลื้อยทอดยอดไปเรื่อยๆ โดยเราจับลำต้นตำลึง ให้ทอดยอดสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วใช้เชือกมัดไว้กับหลักที่ปักไว้ แต่เมื่อปลูกตำลึงได้ประมาณ 1 เดือน ตำลึงเริ่มโตเต็มที่ ให้รดน้ำวันเว้นวัน ตำลึงเป็นไม้ที่ขึ้นง่ายทนทาน ควรดายหญ้าพรวนดินดูแลบ้าง

การเก็บผลผลิตตำลึง

จะเริ่มเก็บผลผลิตเมื่อ ตำลึงเริ่มโตเต็มที่ เมื่อปลูกตำลึงได้ประมาณ 1 เดือน หลังปลูกลงในแปลง จะสามารถเก็บเกี่ยว
ยอดตำลึงได้ และเมื่อเก็บยอดตำลึงไปแล้ว ตำลึงก็จะแตกยอดใหม่มาเรื่อยๆ การปลูกด้วยเถาจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ ประมาณ 1 เดือน จึงจะสามารถเก็บยอดตำลึงรับประทานได้ จะเก็บได้ตลอดไปเรื่อยๆ ยิ่งเก็บยอดใหม่ก็จะยิ่งแตกออกมา

วิธีเก็บรักษาตำลึง

ควรนำยอดตำลึง นำมาล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำให้แห้ง เราจะมีวิธีเก็บรักษาตำลึงให้สดนานๆ คือให้นำมาห่อด้วยกระดาษหรือผ้าขาวบาง แล้วใส่ถุงหรือกล่องพลาสติก แล้วนำไปแช่ตู้เย็น จะเก็บไว้ใช้ได้นาน

Be the first to comment

Leave a Reply